การสื่อสารข้อมูล
( Data Communication )
การสื่อสารข้อมูล
หมายถึง การส่งข้อมูลข่าวสารจากจุดหนึ่งซึ่งเรียกว่าจุดเริ่มต้นหรือจุดส่งสัญญาณไปยังจุดปลายทางหรือ
จุดรับข่าวสาร โดยอาศัยตัวกลางหรือพาหะนำสัญญาณ

พื้นฐานการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลมีส่วนประกอบ
3 ส่วนคือ
1)
ตัวส่งสัญญาณหรือแหล่งกำเนิด
2)
ตัวกลางหรือพาหะนำสัญญาณ
3)
ตัวรับหรือผู้รับ
รูปแบบทิศทางของการส่งสัญญาณสื่อสารมี
3 รูปแบบ
1.
การส่งสัญญาณแบบทางเดี่ยว (Simplex)
หมายถึงผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลข่าวสารผ่านตัวกลางไปให้ผู้รับได้ฝ่ายเดียวซึ่งผู้รับข่าวสารไม่สามารถโต้ตอบกลับไปได้เช่นวิทยุกระจายเสียง
2.
การส่งสัญญาณแบบกึ่งทางคู่ (Half Duplex)
หมายถึงผู้สามารถส่งข่าวสารผ่านตัวกลางไปให้ผู้รับได้และผู้รับก็สามารถโต้ตอบกลับไปให้ผู้ส่งได้แต่ต้องผลัดกันรับ-ส่ง
เช่น วิทยุมือถือ
3.
การส่งสัญญาณแบบทางคู่ (Full Duplex)
หมายถึง
การส่งสัญญาณที่ผู้รับและผู้ส่งสามารถโต้ตอบกันได้โดยทันทีทันใด
เช่น การคุยโทรศัพท์ , สนทนา
สัญญาณ
(signal)
ก่อนจะอธิบายถึงช่องสัญญาณเรามาทำความเข้าใจสัญญาณที่ใช้เป็นพาหนะสำหรับส่งข้อมูลสัญญาณที่ใช้แทนข้อมูลและนำพาข้อมูลผ่าน
สายส่ง มี 2 รูปแบบ คือ
1.
สัญญาณดิจิตอล (Digital)
2.
สัญญาณอะนาล็อค (Analog)
1.
สัญญาณดิจิตอล (Digital)
สัญญาณดิจิตอล
จะอยู่ในรูปแบบของพัลส์ไฟฟ้าสี่เหลี่ยมบนช่องสัญญาณ ข้อมูลที่ถูกแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล
จะถูกนำเข้าช่องสัญญาณ
ในอนุกรมของบิท 0 หรือ 1 ซึ่งแสดงด้วยค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าสูง
หรือต่ำบนช่องสัญญาณ เช่นสัญญาณดิจิตอลบนช่องสัญญาณหนึ่งในช่วงเวลา
หนึ่งบิท 1 แสดงโดยค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า 5 volts ขณะที่
บิท 0 แทนด้วย 0 volts

2. สัญญาณอะนาล็อค (Analog)
สัญญาณอะนาล็อคใช้ค่าต่อเนื่องของความต่างศักย์ไฟฟ้าบนช่องสัญญาณแทนข้อมูลเราสามารถใช้สัญญาณอะนาล็อคส่งข้อมูลด้วยบิท0หรือ
1 หรือส่งสัญญาณหลากหลายเช่นสัญญาณเสียงและภาพแสงเสียงคลื่นวิทยุและสัญญาณอะนาล็อคอื่นสามารถเดินผ่านอากาศในรูปของคลื่นความถี่
ได้เหมือนทางผ่านสาย ลักษณะของคลื่นจะกำหนดโดยขนาดหรือแอมปลิจูด
และความถี่
แอมปลิจูด
คือ ความสูงของคลื่น แอมปลิจูดของคลื่น ขึ้นอยู่กับช่วงของความต่างศักย์ไฟฟ้าบนสัญญาณ
ความถี่
หมายถึง จำนวนครั้งที่เกิดคลื่นซ้ำ ในรูปแบบเดิมในช่วงเวลาหนึ่ง
คลื่นจะถูกแกว่งตามความถี่ที่กำหนด
โหมดของการส่งผ่านข้อมูล
(Tranmission Mode)
สามารถแบ่งวิธีการส่งผ่านข้อมูลได้
2 รูปแบบคือ
1.
การส่งข้อมูลแบบขนาน ( Parallel Transmistion)
ในการส่งข้อมูลแบบขนานทุกบิตที่เข้ารหัสแทนข้อมูลจะถูกส่งผ่านไปตามสายขนานกันและพร้อมกันจำนวนสายส่งจะสองเท่ากับ
จำนวนบิทที่นำมาเข้ารหัส เช่น 8 บิท ต้องมีสายส่ง 8
เส้น ถ้าใช้รหัส ASCII 1 ตัวอักษรถูกแทนด้วย 8 บิต

2.
การส่งผ่านข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Serial Transmission)
การส่งข้อมูลแบบนี้ ทุกบิตที่ถูกเข้ารหัสจะถูกส่งออกไปเรียงกันตามลำดับก่อนหลัง
ตามกันไปโดยใช้สายเส้นเดียวการส่งผ่านข้อมูล
แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.
การชิงโคนัส ( Synchronization)
การส่งแบบชิงโคนัสจะส่งข้อมูลไปพร้อมกันโดยไม่มีช่องว่างแต่ต้องมีสัญญาณนำเพื่อให้ผู้รับทราบว่าจะเริ่มทำการส่งข้อมูล

2.
การส่งข้อมูลแบบอะชิงโคนัส ( Asynchronous)
การส่งข้อมูลแบบนี้จะต้องมีสัญญาณ
Start ตามด้วยข้อมูลและ Stop ปิดท้ายข้อมูล
รหัสข้อมูล
(DataCode) จากที่ผ่านมาเราได้เรียนรู้การส่งข้อมูลดิจิตอลที่ใช้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ไปบนสายสัญญาณด้วยเทคนิคการเข้า
สัญญาณแบบต่าง ๆ ข้อมูลจะต้องถูกแปลงเป็นชุดของตัวเลขบิท
0 และ 1 หน่วยของข้อมูลเช่น อักขระ (character ) จะถูกแทนด้วยชุดของบิท
0 และ 1 จำนวนหนึ่ง เราเรียกชุดของบิท 0 และ 1 นี้ว่า
รหัส
รหัสที่นิยมใช้กันในระบบสื่อสารข้อมูลมี
2 แบบ คือ
- รหัส ASCII
-
รหัส EBCDIC

|