บทที่ 3
อุปกรณ์ในระบบเครือข่าย
แผงวงจรเครือข่าย (LAN CARD)
คือแผงวงจรเครือข่ายที่เสียบไว้กับตัวเครื่องและเชื่อมต่อด้วยสายเพื่อต่อเป็นเครือข่ายโดยแผงวงจรเครือข่ายนี้จะมีช่องไว้เสียบหัวชนิด RJ 45 , BNC , AUI
แผงวงจรเครือข่าย (LAN Card) หรือ Network Interface Card (NIC) มีหน้าที่ดังนี้
Convert สัญญาณจาก Serial เป็น Parallel และ Parallel เป็น Serial
เป็นตัว Buffer ของข้อมูลที่จะส่งและรับ
เป็นผู้จัดสร้าง Packet หรือ Frame ขึ้น
ทำหน้าที่เข้ารหัสและถอดรหัส
ตรวจสอบค่า Address ที่เข้ามาจากผู้ส่ง
ตรวจสอบการชนกันของข้อมูล
Repeater เป็นอุปกรณ์สำหรับขยายสัญญาณข้อมูลเพื่อให้ข้อมูลที่ส่งไปยังปลายทาง ความเที่ยงตรง
HUB เป็นอุปกรณ์ศูนย์กลางของช่องทางรับ ส่งสัญญาณข้อมูล โดยมีหน้าที่เป็น Repeater ในตัวด้วยแบะเป็นตัวขยายช่องสัญญาณ
Bridge (บริด) ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระบบเครือข่ายและทำขยายสัญญาณในตัว
Router คืออุปกรณ์ที่เชื่อมระหว่างเครือข่ายโดยลักษณะพิเศษของ Router สามารถค้นหาเส้นทางการส่งข้อมูลเองได้
Switch เป็นการรวมเอาคุณสมบัติของ Hub และ Bridge เข้าไว้ด้วยกันซึ่งนอกจากจะมีความสามารถเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายแล้วยัง
เป็นตัวขยายชิ่ง
สัญญาณในตัวและปริทธิภาพการส่งข้อมูลยังมีความเร็วในการส่งคงที่ถึงแม้ว่าจะมีการจราจรหนาแน่น ต่างกับ Hub เมื่อมีการจราจรแน่นหนาความเร็ว
ในการส่งจะลดลงตามจำนวนเครื่องที่มีการใช้งานในเครือข่าย
สายส่งในระบบเครือข่ายข้อมูลที่ใช้กันทั่วไป ได้แก่
สายตีเกลียวคู่
สายโคแอกเชียล
เคเบิลใยแก้วนำแสง
ระบบไร้สายผ่านคลื่นไมโครเวฟ
ระบบไร้สายผ่านสัญญาณดาวเทียม
สายตีเกลียวคู่ (Twist pair)
สายตีเกลียวคู่ เป็นสายสัญญาณที่นิยมใช้กันมากทั้งในระบบ WAN และ LAN สายคู่ตีเกลียวประกอบด้วยสายทองแดงคู่พันกันเป็นเกลียวทำให้
เพิ่มความสามารถในการเป็นพาหนะของสัญญาณไฟฟ้า
ข้อดี ของสายคู่ตีเกลียว คือ ราคาไม่แพง ติดตั้งง่าย และสะดวก
ข้อเสีย ของสายคู่ตีเกลียว คือ สามารถถูกรบกวนจากการเหนี่ยวนำทางไฟฟ้าจากแหล่งกำลังไฟฟ้าต่าง ๆ มากกว่าสายส่งแบบอื่น
สายโคแอกเชียล
สายโคแอกเชียล หรือเรียกสั้น ๆ ว่า สายโคแอก ประกอบด้วยแกนตัวนำตรงกลางเป็นลวดทองแดงล้อมรอบด้วยฉนวน ซึ่งอาจจะเป็นอากาศหรือ เทฟลอนรอบฉนวนจะหุ้มด้วยลวดทองแดงสานกัน หรือฟอยล์โลหะรอบนอกสุดหุ้มด้วยปลอก PVC
การมีตัวนำภายนอกและฉนวนหุ้มสายเคเบิล ช่วยป้องกันสัญญาณไฟฟ้าจากภายนอกและลดการแผ่รังสีของสัญญาณภายในทำให้สามารถส่ง
ข้อมูลผ่านสายโคแอกเชียลด้วยความเร็วสูง และระหว่างทางไกล
เคเบิลใยแก้วนำแสง
เคเบิลใยแก้วนำแสงประกอบด้วยใยแก้วรวมด้วยฉนวนหรือเคเบิลใยแก้วนำแสงมีลักษณะใส และขนาดเล็กเท่าเส้นผม สัญญาณที่ส่งผ่าน
เคเบิลใยแก้วนำแสงจะเป็นสัญญาณแสงไม่ใช่สัญญาณไฟฟ้าแหล่งกำเนิดแสงมีหลายชนิดด้วยกัน เช่น เลเซอร์ ไดโอดเรืองแสง เป็นต้นแหล่งกำเนิด แหล่งกำเนิดแสงทำหน้าที่ผลิตพลัสซ์สัญญาณแสงซึ่งสามารถส่งผ่านเคเบิลแสง และถุกแปลงกลับเป็นสัญญาณดิจิตอลที่อุปกรณ์รับปลายทาง
ข้อด ี ของเคเบิลใยแก้ว คือ ความสูญเสียของการลดระดับสัญญาณน้อยกว่า สายทองแดงทั่ว ๆ ไป นั่นคือสามารถส่งสัญญาณแสงได้ระยะทาง
ไกลกว่า ง่ายในการจัดการและติดตั้ง เนื่องจำขนาดที่เล็กและเบากว่าสายทองแดงทั่วไป
ข้อเสีย ของเคเบิลใยแก้ว คือ ราคาค่อนข้างสูง ทั้งสำหรับตัวเคเบิลใยแก้วเอง และอุปกรณ์เชื่อมต่อระบบเครือข่าย
ไมโครเวฟ
อาจกล่าวได้ว่าตัวกลางที่กล่าวมาเบื้องต้น เป็นสื่อที่มีขอบเขตและรูปร่าง แต่การส่งสัญญาณไมโครเวฟไม่มีขอบเขต เป็นการส่งข้อมูลผ่านที่
ว่างเปล่า สัญญาณไมโครเวฟจะถูกส่งจากสายอากาศ กระจายผ่านอากาศ ไมโครเวฟเป็นคลื่นวิทยุที่มีความถี่ระหว่าง 1 กิกะเฮิรทซ์และ 10 กิกะเฮิรทซ์
สัญญาณไมโครเวฟจะถูกส่งผ่านทอนำคลื่นไปยังอากาศ ท่อนำคลื่นเป็นตัวนำพิเศษมีลักษณะเป็นท่อกลางสัญญาณไมโครเวฟจะแพร่กระจายผ่าน
ท่อนำคลื่นด้วยความสูญเสียกำลังต่ำมาก
ข้อดี ของระบบสัญญาณไมโครเวฟ คือ ใช้แบนวิธที่รองรับข้อมูลสูงกว่าสายและลดงานการเดินสายสัญญาณ
ข้อเสีย ของระบบไมโครเวฟ คือ คุณภาพสัญญาณอาจถูกกระทบโดย สภาพภาวะอากาศและไม่สามารถส่งหรือเส้นทางการแพร่คลื่น ออกนอก ขอบเขตแนวสายตา
สัญญาณดาวเทียม (Satellite)
การสื่อสารดาวเทียม ถือว่าเป็นวงจรทวนสัญญาณไมโครเวฟที่มีช่องทวนสัญญาณที่ยาวมาก เนื่องจากดาวเทียมจะอยู่สูงจากระดับพื้นจาก
หลายร้อย
กิโลเมตรจนถึงวงโคจร 23.500 กิโลเมตร ดาวเทียมจะเข้าสู้วงจรด้วยการใช้จรวดส่งดาวเทียม ดังนั้น ดาวเทียมจะถูกออกแบบให้มีขนาด
เบาและเล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดาวเทียมสื่อสารที่ทั้งเคลื่อนที่และแบบอยู่กับที่
ข้อเสีย ของระบบดาวเทียม คล้ายกับไมโครเวฟ คือ อาจถูกกระทบโดยสภาพอากาศ เนื่องจากระยะทางของดาวเทียมไกลจากพื้นโลกมาก